พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร ปี 2460 ร้าน ตลาดพระเครื่อง พระบูชา พระยอดนิยม หนึ่งในสยาม
register
ร้านค้านี้ได้รับการยืนยันตน กับ พระแท้.คอม เรียบร้อยแล้ว ชื้อขายสบายใจ
 
 
 
 
รหัส :   4898
ชื่อพระ :  

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร ปี 2460

ร้าน :   สาธุกร
ราคา:   โทรสอบถาม
สถานะ :   โชว์
การส่งของ :   ร่วมศึกษา
จำนวนที่เปิด :   23238
 
ติดต่อ ติดต่อร้านค้า: โทร : 097-178-1942 (สาธุกร @ไม่รับเช่าและเช็คพระ) e-mail : saathukorn@gmail.com
ข้อความ :
ชื่อ :
อีเมลล์ :    
 
 
     
 

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร ปี 2460

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร ปี 2460

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร ปี 2460

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร ปี 2460

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร ปี 2460
 

 

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร ปี 2460 หลวงปู่ไข่เป็นชาวแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดที่ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2400 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เมื่อท่านอายุได้ราว 6 ขวบ โยมชายได้นำตัวไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา (วัดโสธรวราราม) ต่อมาก็บวชเป็นสามเณรนอกจากเรียนหนังสือแล้วยังหัดเทศน์ด้วยจนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่จึงได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จนท่านอายุ 15 ปี พระอาจารย์จวงมรณภาพแล้ว ท่านก็เดินทางไปอยู่ ณ สำนักสงฆ์พระอาจารย์รูปหนึ่งที่วัดหงษ์รัตนาราม อำเภอบางกอก ใหญ่ จังหวัดธนบุรี เรียนปริยัติธรรมอยู่ 3 ปีเศษ แล้วย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม จนครบบวช ท่านได้อุปสมบทที่วัดลัดด่าน มีพระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกระพ้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ขึ้นไปเรียนพระกรรมฐานต่อยังอาจารย์อีกรูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ริมภูเขา แขวงจังหวัดกาญจนบุรีแล้วกลับไปอยู่วัดลัดด่านอีก นอกจากนั้นธุดงค์ไปหาพระอาจารย์ เรียนพระกรรมฐานวิปัสสนา ทางอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี แล้วไปหาอาจารย์ทางจังหวัดกาญจนบุรีในถ้ำ เรียนพระกรรมฐานและวิปัสสนาเป็นเวลานานถึง 6 ปี ท่านเล่าว่าในระหว่างอยู่ในถ้ำนั้นตกกลางคืน จะมีสิงสาราสัตว์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกลด เช้ามืดต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะบิณฑบาตเป็นวัตรและฉันหนเดียว เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นพอเห็นว่าจะช่วยเหลือสัตว์โลกได้พอควร ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่างๆ โดยไม่ยอมขึ้นรถเรือ และไม่มีจุดหมายปลาย ทางสุดแต่พอมืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่นเช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเป็นบ้า เสียจริต ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน ท่านเดินธุดงค์อย่างนี้อยู่นานราว 15 ปี เกียรติคุณของท่านก็ดังจนทางกรุงเทพฯ มีผู้ไปนิมนต์ท่านไปอยู่วัดบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี 1 พรรษา แล้วท่านก็ออกเดินธุดงค์ในป่าอีกหลายปี สุดท้ายเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ และได้เห็นว่าที่คณะกุฏิวัดบพิตร พิมุขเป็นที่สงบเงียบดี เพราะมีพระน้อย กุฏิต่างๆ ก็เป็นที่เก็บศพและเป็นที่ถ่ายอุจจาระของชาวบ้าน คงไม่มีใครรบกวนมากนัก ก่อนท่านจะมาอยู่วัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) ซึ่งเป็นวัดสุดท้าย พอปี พ.ศ.2460 วัตถุมงคลของท่านก็เริ่มออกสู่สายตาผู้มานมัสการเป็นครั้งแรก แต่ละครั้งที่ท่านสร้างจะมีจำนวนไม่มากนัก โดยยึดหลักว่า “หมดแล้วทำใหม่” ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2474 วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีด้วยกัน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ พระปิดตา เหรียญรูปไข่ และพระอรหังกลับบัว สำหรับพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของท่าน เริ่มสร้างมาตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2460 เป็นต้นมา ส่วนเหรียญรูปไข่สร้างในคราวทำบุญอายุครบ 6 รอบ ส่วนพระอรหังกลีบบัว เป็นพระเนื้อดินผสมผง มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ เนื้อผงคลุกรักนับว่าเป็นพระปิดตาที่หาได้ยากองค์หนึ่ง (ที่มา:อ.ราม วัชรประดิษฐ์)


โดย พระแท้.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา

Copyright Pratae.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย พระแท้ ดอทคอม.
Design by IT Citizens Co., Ltd.