หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ร้าน @Asia พระแท้.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา พระยอดนิยม หนึ่งในสยาม
register สมัครเปิดร้านพระเครื่องไทย
ที่เปิดชมล่าสุด
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์สังกัจจายน์ #13886 เหรียญเสมาหลวงปู่ทวด รุ่น 100 ปี อาจารย์ทิม เนื้อนวะโลหะหน้ากากเงิน ( กรรมการ ) หลวงปู่ทวด พิมพ์สี่เหลี่ยม วัดห้วยมงคล เนื้อผสมผงบางขุนพรหม หลัง สก.ปี 2546 กล่องเดิม #12673 พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ กำแพงเพชร สมเด็จพระครูสังฆ์ วัดอินทร์ พิมพ์ปางอุ้มบาตร #12579 สมเด็จเกศบัวตูม หลังกระดาน วัดระฆัง #13879 พระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดระหารไร  ปี 2515 เนื้อดำ สมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติ พิมพ์สามชั้นยุันต์ห้าตัว  #13878 พระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดระหารไร ปี 2515 พญาเต่าเรือน หลวงปู่ศุข
เปิดร้านพระเครื่องแท้

ประวัติพระ

พระ : หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย

แหล่งกำเนิด: วัดพวงมาลัย
รายละเอียด : ประวัติหลวงประวัติ พระครูวินัยธรรม (แก้ว พรหมสโร) วัดพวงมาลัย อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม วัดพวงมาลัย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ต.แม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยสัสดีพ่วง และนางมาลัย จึงตั้งชื่อวัดว่า วัดพวงมาลัย โดยได้อาราธนา หลวงพ่อแก้ว จากวัดช่องลม มาเป็นเจ้าอาวาส รูปแรก ซึ่งภายหลับงจากท่านมรณภาพ หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่ หลวงพ่อแขก สาสนปชฺโชโต หรือ พระครูสมุทรสุนทร จะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 พระครูวินัยธรรม หรือ หลวงปู่แก้ว พรหมสโร เกิดเมื่อปีมะแม พ.ศ. 2393 พื้นเพเป็นชาว ต. บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน คือ
1.นายเกตุ ทองพันธ์ (พระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี)
2.หลวงปู่แก้ว วัดพวงมาลัย
3.นายเทียน ทองพันธ์ เป็นบุตรของ นายทัพ ทองพันธ์ และ นางเนียม ทองพันธ์ ในวัยเด็กได้ศึกษาวิชาความรู้จากบิดา ซึ่งกล่าวว่าเคยเป็นทหารวังหน้า มีวิชาแก่กล้าเชี่ยวชาญในพุทธาคม และเป็นคนโปรดของวังหน้า อยู่ไม่เป็นที่เพราะร้อนวิชามักออกจากวังเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน โดยมากมักจะปีนกำแพงหนีถูกไล่ยิงทุกครั้ง แต่หาเป็นอันตรายไม่ เมื่ออายุมากขึ้น จึงลาออกจากทหารวังหน้า มาอยู่ที่ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ได้ถ่ายทอดพุทธาคมให้กับบุตรชายทั้ง 3 คน บุตรชายคนโต คือ นายเกตุ ทองพันธ์ ได้อุปสมบทจนเป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ เพชรบุรี ต่อมาได้ลาสิกขาบท ส่วนน้องชายคนเล็กของท่านคือ นายเทียน ทองพันธ์ แก่กล้าในพุทธาคม และอยู่ยงคงกระพันยิ่งนัก แม้ตัวท่านเองยังเอ่ยปากชมต่อหน้าศิษย์อยู่เสมอ เมื่ออายุได้ 10 ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ตรงกับปี พ.ศ. 2413 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางแคใหญ่ โดยมี หลวงพ่อเพ็ง วัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า พรหมสโร แปลว่า ผู้มีเสียงเหมือนพรหม ได้พำนักจำพรรษาที่วัดบางแคใหญ่ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตลอดจนพุทธาคม สมถะวิปัสสนากัมมัฏฐาน และอักษรภาษาไทย ภาษาขอม เพิ่มเติมอยู่ 1 พรรษา ก็มีความชำนาญเชี่ยวชาญ เพราะมีพื้นฐานด้านนี้มาดีอยู่แล้ว หลวงพ่อเพ็ง วัดบางแคใหญ่ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่เชี่ยวชาญและเก่งกล้าในทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน และเรืองเวทย์พุทธาคมรูปหนึ่งของยุคนั้นทั้งยังเป็นครูบาอาจารย์ของ หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จากนั้น หลวงปู่แก้ว พรหมสโร ได้เดินทางไปเพชรบุรี เพื่อศึกษาเพิ่มเติด้านพุทธาคมและวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี ทั้งยังศึกษาเพิ่มเติมกับพี่ชายของท่านคือ อาจารย์เกต วัดทองนพคุณ และได้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้จนพี่ชายของท่านได้เป็นเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้ศึกษาเรียนรู้ด้าน วิชาช่างไม้ ช่างปูน จากวัดต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จนมีความชำนาญในวิชาช่างแขนงดังกล่าว ด้วยเหตุที่ท่านพำนักจำพรรษาและใช้เวลาศึกษาสรรพศาสตร์ต่างๆ อยู่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลานาน ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าท่านเป็นชาวเมืองเพชรบุรี กระทั่งปี พ.ศ. 2424 ทางวัดช่องลม อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ได้ขาดเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัด จึงพร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ท่านให้ไปเป็นเจ้าอาวาสท่านจึงเดินทางมาวัดช่องลม พร้อม หลวงปู่บ่าย ธมฺมโชโต หลวงปู่บ่าย ธมฺมโชโต เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ต่อจากหลวงปู่แก้ว และตัวท่านเองเป็นกำพร้ามาแต่เล็ก นายเกตุ ทองพันธ์(พระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ พี่ชายหลวงปู่แก้ว) และนางปรางทองพันธ์ ได้นำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และได้อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2423 หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช่องลม อยู่ประมาณ 6 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2430 อันเป็นปีที่สัสดีพ่วง และ นางมาลัย ได้สร้างวัดพวงมาลัย แล้วเสร็จ และได้อาราธนาท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัด เมื่อท่านมาครอง วัดพวงมาลัยนั้น ท่านมีผลงานการพัฒนาหลายประเภท โดยเฉพาะด้านการก่อสร้าง เพราะท่านมีฝีมือเชิงช่างที่ได้ศึกษามาจากเมืองเพชร ศิษย์ของท่านสมัยนั้น หากลาสิกขาบทจะเก่งด้าน ช่างไม้ , ช่างปูน สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ เมื่อครั้งท่านได้ย้ายจากวัดช่องลมมาวัดพวงมาลัยนั้นได้นำ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาเมื่อครั้งออกธุดงค์ แสวงบุญไปพม่า และได้จำแบบอย่างเจดีย์มาสร้างแบบมอญที่วัดพวงมาลัย เรียกว่า เจดีย์หงสาวดี หรือ เจดีย์หงษา ด้านในมี พระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธปฏิมากรอยู่ทั้ง 4 ทิศ รวมทั้งสร้างวัดอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขาอีโก้ หรือ วัดมณีเลื่อน(เพชรบุรี) , วัดสาธุชนาราม(สมุทรสงคราม) เป็นต้น ศิษย์ที่เป็นกำลังสำคัญของท่านยุคนั้น ประกอบด้วย พระครูสุตาภรัต (บุญรอด อุทโย) วัดบางขันแตก , พระครูสมุทรสุนทร(แขก สาสนปชฺโชโต) วัดพวงมาลัย และ พระครูสิลิฏสรคุณ(แดง ปณฺฑิโต) วัดท้ายหาด หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณ เรืองเวทย์พุทธาคม ถือธุดงควัตรอยู่เป็นนิจ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ในด้านความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของท่านเป็นที่เล่าขานโด่งดัง ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปีระกา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ทรงมีพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 4 ถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ความตอนหนึ่งว่า ..วัดอัมพวันนี้คงจะได้คิดจะให้เป็นคู่กันกับวัดสุวรรณดาราราม จึงได้ทรงสร้างบางอย่างทุกๆรัชกาลมา จะทิ้งให้สาบสูญเสีย เห็นจะไม่ควร ข้อขัดข้องสำคัญนั้นคื หาเจ้าอธการไม่ได้ แต่ก่อนมาเป็นวัดพระราชาคณะอยู่เสมอ แต่ได้โทรมเข้าเลยไม่ฟื้น เพราะไม่มีใครยอมไปอยู่ การที่ไม่ยอมไปอยู่นั้น เห็นจะเป็นด้วย ปราศจากลาภผล ไม่เหมือนวัดบ้านแหลม และวัดพวงมาลัย ซึ่งได้ผลประโยชน์ในทางขลังต่างๆ .. หลวงปู่แก้ว พรหมสโร ถึงแก่ มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2462 รวมสิริอายุ 69 ปี 49 พรรษา วัตถุมงคล หลวงปู่แก้ว วัดพวงมาลัย ท่านสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ทั้งเครื่องรางของขลัง เหรียญปั้ม เหรียญหล่อ ปัจจุบันได้รับความนิยมสูง ด้วยอานุภาพในวัตถุมงคลของท่าน เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ เป็นประจักษ์แก่สายตามานานแล้ว ตะกรุดใบลานบังปืน เป็นวัตถุมงคลยุคแรกที่ท่านสร้างขึ้น เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ประสงค์ โดยเคล็ดในการสร้าง จะต้องนำใบลานจาก บ้านบางปืน มาทำ ยุคแรกๆท่านสร้างในช่วงขณะออกเดินธุดงค์ จารอักขระยันต์ และปลุกเสกด้วยตนเองทั้งหมด เมื่ออายุมากขึ้น ศิษย์ที่ลงอักขระยันต์ให้คือ พระครูสุตาภิรัต (บุญรอด ยุทโย) วัดบางขันแตก , พระครูสมุทรสุนทร (แขก สานปชฺโชโต) วัดพวงมาลัย และ พระครูสิลิฏฐสรคุณ(แดง ปณฺฑิโต) วัดท้ายหาด โดยท่านนำมาประสิทธิ์อีกคำรบหนึ่งก่อนแจกจ่าย ประเภทเหรียญปั้ม ปี พ.ศ. 2459 มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ
1.เหรียญปั้มพิมพ์พระพุทธ
2.เหรียญรูปเหมือนปั้มบล็อควัด
3. เหรียญรูปเหมือนปั้มบล็อควัง ประเภทเหรียญหล่อปี พ.ศ. 2459 มีด้วยกันหลายชนิด เช่น
1.เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น
2. เหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลม
3. เหรียญหล่อรูปเหมือน หลวงปู่แก้ว ออกวัดเขาอีโก้ นอกจากวัตถุมงคลดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายชนิด เช่น เหรียญหล่อข้ามฝาก , พระพิมพ์สมเด็จเนื้อดินและผง พระพิมพ์เศียรแหลมเนื้อผง เป็นต้นพ่อประวัติ
พระครูวินัยธรรม (แก้ว พรหมสโร) วัดพวงมาลัย อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม วัดพวงมาลัย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ต.แม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยสัสดีพ่วง และนางมาลัย จึงตั้งชื่อวัดว่า วัดพวงมาลัย โดยได้อาราธนา หลวงพ่อแก้ว จากวัดช่องลม มาเป็นเจ้าอาวาส รูปแรก ซึ่งภายหลับงจากท่านมรณภาพ หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่ หลวงพ่อแขก สาสนปชฺโชโต หรือ พระครูสมุทรสุนทร จะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 พระครูวินัยธรรม หรือ หลวงปู่แก้ว พรหมสโร เกิดเมื่อปีมะแม พ.ศ. 2393 พื้นเพเป็นชาว ต. บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน คือ 1. นายเกตุ ทองพันธ์ (พระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี) 2. หลวงปู่แก้ว วัดพวงมาลัย 3. นายเทียน ทองพันธ์ เป็นบุตรของ นายทัพ ทองพันธ์ และ นางเนียม ทองพันธ์ ในวัยเด็กได้ศึกษาวิชาความรู้จากบิดา ซึ่งกล่าวว่าเคยเป็นทหารวังหน้า มีวิชาแก่กล้าเชี่ยวชาญในพุทธาคม และเป็นคนโปรดของวังหน้า อยู่ไม่เป็นที่เพราะร้อนวิชามักออกจากวังเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน โดยมากมักจะปีนกำแพงหนีถูกไล่ยิงทุกครั้ง แต่หาเป็นอันตรายไม่ เมื่ออายุมากขึ้น จึงลาออกจากทหารวังหน้า มาอยู่ที่ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ได้ถ่ายทอดพุทธาคมให้กับบุตรชายทั้ง 3 คน บุตรชายคนโต คือ นายเกตุ ทองพันธ์ ได้อุปสมบทจนเป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ เพชรบุรี ต่อมาได้ลาสิกขาบท ส่วนน้องชายคนเล็กของท่านคือ นายเทียน ทองพันธ์ แก่กล้าในพุทธาคม และอยู่ยงคงกระพันยิ่งนัก แม้ตัวท่านเองยังเอ่ยปากชมต่อหน้าศิษย์อยู่เสมอ เมื่ออายุได้ 10 ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ตรงกับปี พ.ศ. 2413 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางแคใหญ่ โดยมี หลวงพ่อเพ็ง วัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า พรหมสโร แปลว่า ผู้มีเสียงเหมือนพรหม ได้พำนักจำพรรษาที่วัดบางแคใหญ่ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตลอดจนพุทธาคม สมถะวิปัสสนากัมมัฏฐาน และอักษรภาษาไทย ภาษาขอม เพิ่มเติมอยู่ 1 พรรษา ก็มีความชำนาญเชี่ยวชาญ เพราะมีพื้นฐานด้านนี้มาดีอยู่แล้ว หลวงพ่อเพ็ง วัดบางแคใหญ่ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่เชี่ยวชาญและเก่งกล้าในทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน และเรืองเวทย์พุทธาคมรูปหนึ่งของยุคนั้นทั้งยังเป็นครูบาอาจารย์ของ หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จากนั้น หลวงปู่แก้ว พรหมสโร ได้เดินทางไปเพชรบุรี เพื่อศึกษาเพิ่มเติด้านพุทธาคมและวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี ทั้งยังศึกษาเพิ่มเติมกับพี่ชายของท่านคือ อาจารย์เกต วัดทองนพคุณ และได้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้จนพี่ชายของท่านได้เป็นเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้ศึกษาเรียนรู้ด้าน วิชาช่างไม้ ช่างปูน จากวัดต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จนมีความชำนาญในวิชาช่างแขนงดังกล่าว ด้วยเหตุที่ท่านพำนักจำพรรษาและใช้เวลาศึกษาสรรพศาสตร์ต่างๆ อยู่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลานาน ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าท่านเป็นชาวเมืองเพชรบุรี กระทั่งปี พ.ศ. 2424 ทางวัดช่องลม อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ได้ขาดเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัด จึงพร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ท่านให้ไปเป็นเจ้าอาวาสท่านจึงเดินทางมาวัดช่องลม พร้อม หลวงปู่บ่าย ธมฺมโชโต หลวงปู่บ่าย ธมฺมโชโต เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ต่อจากหลวงปู่แก้ว และตัวท่านเองเป็นกำพร้ามาแต่เล็ก นายเกตุ ทองพันธ์(พระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ พี่ชายหลวงปู่แก้ว) และนางปรางทองพันธ์ ได้นำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และได้อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2423 หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช่องลม อยู่ประมาณ 6 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2430 อันเป็นปีที่สัสดีพ่วง และ นางมาลัย ได้สร้างวัดพวงมาลัย แล้วเสร็จ และได้อาราธนาท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัด เมื่อท่านมาครอง วัดพวงมาลัยนั้น ท่านมีผลงานการพัฒนาหลายประเภท โดยเฉพาะด้านการก่อสร้าง เพราะท่านมีฝีมือเชิงช่างที่ได้ศึกษามาจากเมืองเพชร ศิษย์ของท่านสมัยนั้น หากลาสิกขาบทจะเก่งด้าน ช่างไม้ , ช่างปูน สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ เมื่อครั้งท่านได้ย้ายจากวัดช่องลมมาวัดพวงมาลัยนั้นได้นำ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาเมื่อครั้งออกธุดงค์ แสวงบุญไปพม่า และได้จำแบบอย่างเจดีย์มาสร้างแบบมอญที่วัดพวงมาลัย เรียกว่า เจดีย์หงสาวดี หรือ เจดีย์หงษา ด้านในมี พระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธปฏิมากรอยู่ทั้ง 4 ทิศ รวมทั้งสร้างวัดอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขาอีโก้ หรือ วัดมณีเลื่อน(เพชรบุรี) , วัดสาธุชนาราม(สมุทรสงคราม) เป็นต้น ศิษย์ที่เป็นกำลังสำคัญของท่านยุคนั้น ประกอบด้วย พระครูสุตาภรัต (บุญรอด อุทโย) วัดบางขันแตก , พระครูสมุทรสุนทร(แขก สาสนปชฺโชโต) วัดพวงมาลัย และ พระครูสิลิฏสรคุณ(แดง ปณฺฑิโต) วัดท้ายหาด หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณ เรืองเวทย์พุทธาคม ถือธุดงควัตรอยู่เป็นนิจ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ในด้านความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของท่านเป็นที่เล่าขานโด่งดัง ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปีระกา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ทรงมีพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 4 ถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ความตอนหนึ่งว่า ..วัดอัมพวันนี้คงจะได้คิดจะให้เป็นคู่กันกับวัดสุวรรณดาราราม จึงได้ทรงสร้างบางอย่างทุกๆรัชกาลมา จะทิ้งให้สาบสูญเสีย เห็นจะไม่ควร ข้อขัดข้องสำคัญนั้นคื หาเจ้าอธการไม่ได้ แต่ก่อนมาเป็นวัดพระราชาคณะอยู่เสมอ แต่ได้โทรมเข้าเลยไม่ฟื้น เพราะไม่มีใครยอมไปอยู่ การที่ไม่ยอมไปอยู่นั้น เห็นจะเป็นด้วย ปราศจากลาภผล ไม่เหมือนวัดบ้านแหลม และวัดพวงมาลัย ซึ่งได้ผลประโยชน์ในทางขลังต่างๆ .. หลวงปู่แก้ว พรหมสโร ถึงแก่ มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2462 รวมสิริอายุ 69 ปี 49 พรรษา วัตถุมงคล หลวงปู่แก้ว วัดพวงมาลัย ท่านสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ทั้งเครื่องรางของขลัง เหรียญปั้ม เหรียญหล่อ ปัจจุบันได้รับความนิยมสูง ด้วยอานุภาพในวัตถุมงคลของท่าน เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ เป็นประจักษ์แก่สายตามานานแล้ว ตะกรุดใบลานบังปืน เป็นวัตถุมงคลยุคแรกที่ท่านสร้างขึ้น เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ประสงค์ โดยเคล็ดในการสร้าง จะต้องนำใบลานจาก บ้านบางปืน มาทำ ยุคแรกๆท่านสร้างในช่วงขณะออกเดินธุดงค์ จารอักขระยันต์ และปลุกเสกด้วยตนเองทั้งหมด เมื่ออายุมากขึ้น ศิษย์ที่ลงอักขระยันต์ให้คือ พระครูสุตาภิรัต (บุญรอด ยุทโย) วัดบางขันแตก , พระครูสมุทรสุนทร (แขก สานปชฺโชโต) วัดพวงมาลัย และ พระครูสิลิฏฐสรคุณ(แดง ปณฺฑิโต) วัดท้ายหาด โดยท่านนำมาประสิทธิ์อีกคำรบหนึ่งก่อนแจกจ่าย ประเภทเหรียญปั้ม ปี พ.ศ. 2459 มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ 1. เหรียญปั้มพิมพ์พระพุทธ 2. เหรียญรูปเหมือนปั้มบล็อควัด 3. เหรียญรูปเหมือนปั้มบล็อควัง ประเภทเหรียญหล่อปี พ.ศ. 2459 มีด้วยกันหลายชนิด เช่น 1. เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น 2. เหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลม 3. เหรียญหล่อรูปเหมือน หลวงปู่แก้ว ออกวัดเขาอีโก้ นอกจากวัตถุมงคลดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายชนิด เช่น เหรียญหล่อข้ามฝาก , พระพิมพ์สมเด็จเนื้อดินและผง พระพิมพ์เศียรแหลมเนื้อผง เป็นต้นแดง วัดเขาบันไดอิฐ

หลวงพ่อแดง เกิดเมื่อเดือนเมษายน ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๑ (บางประวัติว่าเกิดวันพุธที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๒๒) ที่บ้านสามเรือน หมู่ที่ ๔ ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม อ้นแสง มีพี่น้องรวมกัน ๑๒ คน ท่านเป็นคนที่ ๕

ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่เพียงคนเดียว คือ นางน้อย เกิดประดับ ท่านเป็นพี่ชายของ พระครูปัญญาโชติวัฒน์ ( เจริญ ธมฺมโชติ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่น่าสังเกตว่า โยมบิดามารดาของท่านเป็นบุคคลผู้มีวาสนา เพราะมีบุตรชายอุปสมบทและครองสมณเพศอยู่จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตถึง ๒ รูป ทั้งยังได้เป็นเจ้าอาวาส ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรทั้ง ๒ รูป ด้วย ครอบครัวของท่านมีฐานะพอมีพอกิน และเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่งในละแวกนั้น

 เมื่อมีอายุครบบวชในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ บิดามารดาได้นำท่านไปฝากไว้กับพระอาจารย์เปลี่ยนแห่งวัดเขาบันไดอิฐ และเมื่อได้บวชตามประเพณีแล้ว (บางประวัติว่า อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๔๔ อายุ ๒๒ ปี ที่วัดเขาบันไดอิฐ ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พระครูญาณวิสุทธิ วัดแก่นเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ) ได้รับฉายาว่า รตฺโต (แปลว่าสีแดง) ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาบันไดอิฐตลอดมา หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านเล่าเรียนวิชาไสยศาสตร์และวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์เปลี่ยนจนจบ เมื่อพระอาจารย์เปลี่ยนได้ถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ หลวงพ่อแดงซึ่งขณะนั้นเพิ่งมีอายุย่างเข้า ๔๐ ปี พรรษาที่ ๒๐ ก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐแทนเป็นต้นมา
 
ท่านมีวิทยาคมขลังเป็นที่นับถืออย่างมาก ในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงขึ้นที่จังหวัดเพชรบุรีทำให้วัวควายล้มตายลงเป็นอันมาก ท่านได้ปลุกเสกผ้ายันต์สีแดง ขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้า ให้ชาวบ้านนำไปผูกไว้ที่ปลายไม้ไผ่ แล้วปักไว้ที่คอกวัวควาย คอกใดที่ผ้ายันต์ของท่านมาปักไว้ วัวควายของคอกนั้นจะไม่เป็นโรคติดต่อ ชื่อเสียงของท่านจึงโด่งดังเป็นที่รู้จักแต่นั้นมา มีผู้คนไปขอของดีไว้ป้องกันตัวจากท่านมิได้ขาด ท่านจึงได้ทำผ้ายันต์และตะกรุดไว้แจก ผู้ที่นำตะกรุดและผ้ายันต์ของท่านไปบูชามักจะประสบกับอิทธิปาฏิหาริย์อยู่เสมอ
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๒ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูญาณวิลาศ" พร้อมรับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ ลูกศิษย์จึงได้ทำการฉลองสมณศักดิ์ให้ท่าน
 
ในการนี้ท่านได้สร้างเหรียญขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มาร่วมงาน นับว่าเป็นเหรียญรุ่นที่หนึ่งของท่าน เป็นเหรียญทองแดงรมดำ จำนวน ๑๕,๐๐๐ เหรียญ และเป็นเหรียญเงินจำนวน ๘๓ เหรียญ เท่าจำนวนอายุของท่านที่ย่างเข้าปีที่ ๘๓ ตัวเหรียญเป็นรูปวงรีคล้ายรูปไข่ ส่วนกว้างที่สุดประมาณ ๒.๖ เซนติเมตร สูงสุดประมาณ ๓.๔ เซนติเมตร เนื้อโละทำด้วยทองแดงรมดำ ด้านหน้าบนซ้ายมือมีอักษรปั๊มนูนสูงว่า "พ.ศ. ๒๕๐๓" ทางด้านขวามือมีอักษรเขียนว่า "อายุ ๘๒ ปี" ส่วนด้านล่างเขียนว่า "พระครูญาณวิลาศ (แดง)" ส่วนด้านหลัง ลงหัวใจพระพุทธคุณต่างๆ ไว้ด้วยภาษาขอม ตรงกลางด้านหลังลงยันต์สี่ มีหัวขมวด เป็นเหรียญที่ดังมาก พุทธคุณมีประสบการณ์สูงทาง คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ปัจจุบันหายากมากๆ
หลังจากที่เหรียญรุ่นหนึ่งสร้างประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จนกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิเป็นที่เลื่องลือ ผู้คนต่างพากันมาขอเหรียญร่วมทำบุญ จนเหรียญรุ่นหนึ่งหมดไปจากวัด จึงได้มีการสร้างเหรียญรุ่นสอง สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ลักษณะองค์หลวงพ่อและอักขระเลขยันต์เหมือนกับเหรียญรุ่นหนึ่ง แต่ต่างกันที่คำว่า "เอ" (ซึ่งเป็นอักษรขอมตำแหน่งล่างสุด) ของรุ่นหนึ่งจะมีดูคล้าย "ฃ" แต่ของรุ่นสองดูคล้ายเลข "๘" เหรียญรุ่นสองนี้มีประสบการณ์แคล้วคลาดมากมายไม่แพ้รุ่นหนึ่งเลย ในการสร้างรุ่นที่สองนี้ ท่านได้สั่งทำเหรียญขนาดเล็กด้วยอัลปาก้า เพื่อสำหรับแจกแม่ครัวเรียกว่า "รุ่นแจกแม่ครัว" อีกด้วย
ในงานฉลองอายุท่านเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ทางวัดได้สร้างเหรียญขึ้นใหม่ โดยใช้ข้อความและตัวอักษร เหมือนรุ่นหนึ่งทุกอย่าง แต่ใบหน้าหลวงพ่อเปลี่ยนไป ในปีเดียวกันนี้มีพ่อค้าได้สร้างเหรียญขึ้นอีกรุ่นเพื่อนำไปให้ท่านปลุกเสก คราวนี้ได้เปลี่ยนใบหน้าหลวงพ่อให้ชราภาพมากขึ้น ข้อความด้านหน้าเหรียญด้านบนปั๊มคำว่า " พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ระลึกอายุครบรอบ ๘๙ ปี" ด้านล่างปั๊มคำว่า "พระครูญาณวิลาศ (แดง)" อักษรเลขยันต์ด้านหลังเหมือนรุ่นหนึ่ง แต่ได้ตอกภาษาจีนอ่านว่า " โจว" ไว้ที่ใต้ตัวอุ เหรียญรุ่นนี้มีเนื้อทองคำ นาค เงิน และทองแดงรมดำ เนื้อทองแดงมีจำนวน ๒,๐๐๐ เหรียญ
พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านมีอายุครบ ๙๐ ปี พลโท สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ ๑ ในขณะนั้น ซึ่งเป็นชาวเพชรบุรีโดยกำเนิด ได้ขอให้ท่านทำเหรียญขึ้นอีกรุ่นเป็นรูปอาร์ม โดยได้ว่าจ้างให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ออกแบบ แกะพิมพ์และปั๊มเหรียญรุ่นนี้ขึ้น โดยจำนวนที่สร้างคือ เนื้อทองแดงมีจำนวน ๔๘,๐๐๐ เหรียญ ส่วนเนื้อเงินและทองคำ ตามจำนวนที่สั่งจอง เหรียญรุ่นนี้เรียกว่า "รุ่นแม่ทัพสร้าง" หรือ "เหรียญแม่ทัพ" และยังมีเนื้ออัลปาก้าอีกด้วย
 
เป็นเหรียญรุ่นที่ได้รับความนิยมมากรองจากรุ่น ๑ พิธีปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้จัดว่ายิ่งใหญ่มาก เพราะนอกจากหลวงพ่อแดงท่านจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ยังจัดให้มีพิธีพุทธาภิเษก และมีมหรสพเฉลิมฉลอง ๕ วัน ๕ คืน ภายหลังจากพิธีจึงได้นำเหรียญออกให้เช่าบูชา
 
เมื่อเปิดให้เช่าบูชา มีทหารจำนวนมากได้เช่าบูชาไป แล้วนำไปทดลองยิงที่ข้างวัด ปรากฏว่า "ปืนแตก" ดังนั้น เหรียญรุ่นนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "รุ่นปืนแตก"
 
การนำไปลองยิงจนปืนแตก ทำให้มีผู้สนใจบูชากันจนเหรียญหมดภายในวันเดียว ดังนั้น มทภ. 1 จึงต้องสั่งให้ปั๊มขึ้นมาอีก โดยใช้แม่พิมพ์ที่เคยใช้ปั๊มเหรียญเนื้อทองคำและเนื้อเงิน ชนิดมีดาวมาปั๊มเหรียญเนื้อทองแดงด้วย โดยต้องเร่งใช้รถ GMC บรรทุกเหรียญมาให้หลวงพ่อแดงปลุกเสก โดยเหรียญที่ปั๊มเพิ่ม หลวงพอแดงปลุกเสกเดี่ยว ไม่ทันปลุกเสกหมู่ เพื่อให้ทันก่อนวันที่ ๑๙ เมย. ๒๕๑๑ ซึ่งเป็นวันที่ได้ประกาศว่าจะเปิดให้เช่าบูชาเป็นครั้งที่ ๒
 
ในปี ๒๕๑๒ ได้มีการสร้างเหรียญที่ต่อมาได้รับความนิยมมากที่สุดเหรียญหนึ่ง คือ เหรียญ "รุ่นโบสถ์ลั่น" หรือ "เหรียญสองพี่น้อง" หรือ "เหรียญรูปซ้อนหลวงพ่อแดง-หลวงพ่อเจริญ"
หลวงพ่อเจริญ หรือ พระครูปัญญาโชติวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาส วัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี เป็นน้องชายร่วม บิดา-มารดาเดียวกับหลวงพ่อแดง มีอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อแดง ๕ ปี มีความต้องการที่จะจัดสร้างเหรียญรูปซ้อนขึ้น เพื่อหาเงินมาสร้างและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างและถาวรวัตถุ ภายในวัดทองนพคุณ จึงได้เข้าไปปรึกษาหลวงพ่อแดง ผู้เป็นพี่ชาย
 
เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อเจริญจึงจัดสร้างขึ้นในปี ๒๕๑๒ แล้วนำไปให้หลวงพ่อแดงปลุกเสกก่อน ๑ พรรษา ภายหลังจึงจัดทำพิธีพุทธาภิเษกขึ้นที่วัดทองนพคุณ โดยนิมนต์เกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาคมเข้ามาร่วมปลุกเสก โดยมีหลวงพ่อแดง เป็นประธานในพิธี
ในขณะที่ปลุกเสกเหรียญรูปซ้อนดังกล่าวในพระอุโบสถนั่น ก็เกิดเสียงลั่นที่โน่นที่นี่ภายในโบสถ์ บรรดาญาติโยมและผู้ศรัทธาที่อยู่ใมโบสถ์ ต่างก็สอดส่ายสายตามองไปภายในรอบๆ โบสถ์ ว่ามีเหตุการณ์ผิดปรกติ โบสถ์จะร้าวลั่นแตกพังลงมาหรือไม่ ปรากฏว่า สภาพภายในก็เป็นปรกติ มีแต่เสียงที่ยังคงดังลั่นอยู่
 
หลังจากพิธีปลุกเสกได้เรียบร้อย เสียงดังกล่าวก็ได้เงียบหายไป ชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างพูดต่อกันปากต่อปาก เป็นที่โจษจันกันไปในเวลาอันรวดเร็ว
จากนั้นเมื่อนำเหรียญรูปซ้อนออกมาให้เช่าบูชา ปรากฏว่าเหรียญได้หมดไปจากวัดในเวลาสั้นๆ ไม่เพียงพอต่อผู้ที่เข้ามาเช่าหาบูชา หลวงพ่อเจริญจึงได้จัดสร้างเหรียญนี้ใหม่อีกครั้ง โดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้แบบอย่างเหรียญเดิม แล้วนำเหรียญรุ่นที่ ๒ ดังกล่าวจำนวนหนึ่งมอบให้กับหลวงพ่อแดงที่วัดเขาบันไดอิฐ
 
พ.ศ. ๒๕๑๓ คณะนายทหารตำรวจจากโรงเรียนนายร้อย จปร. รุ่น ๑๒ ซึ่งมี พลโท ฉลาด หิรัญศิริ เป็นประธานรุ่น ได้ขออนุญาตหลวงพ่อแดงสร้างเหรียญเพื่อเป็นที่ระลึกในการรับราชการครบ ๓๐ ปี แล้วนำมาให้หลวงพ่อแดงปลุกเสก ๑ ไตรมาสแล้วนำมาเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยพระเกจิชื่อดังทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่ง เหรียญรุ่นนี้มีโค้ดคำว่า "แดง" ซึ่งเป็นลายมือของหลวงพ่อ แกะเป็นแม่พิมพ์แล้วตอกลงไปด้านหน้าของทุกเหรียญ
นอกจากเหรียญรุ่น จปร แล้ว ในปี ๒๕๑๓ หลวงพ่อแดงท่านสร้างวัตถุมงคลหลายชนิด ท่านยังสร้างเหรียญรุ่น พศ. ๒๕๑๓ อายุ ๙๒ ปี และ "พระผงญาณวิลาศ" ไว้ด้วย พระผงญาณวิลาศนี้ หลวงพ่อแดงปลุกเสกเดี่ยวเป็นเวลา 1 ปีเต็ม แล้วจึงนำออกแจกในปี ๒๕๑๔ (ที่กล่องจะเขียนว่าปี ๒๕๑๔) โดยสามารถแบ่งได้เป็น ๓ พิมพ์ ด้านหลังปั๊มยันต์และอักขระของหลวงพ่อ คือ
 ๑. พิมพ์พระสมเด็จ แบ่งออกเป็น พิมพ์ตื้นซึ่งสร้างขึ้นก่อน หายาก, พิมพ์ลึกเป็นพิมพ์ที่พบเห็นกันทั่วไปในวงการ พิมพ์สมเด็จมีสีแดง สีเหลือง สีขาว พิมพ์ใหญ่จะมีขนาดกว้าง ๒.๒ เซ็นติเมตร สูง ๓.๖ เซ็นติเมตร นอกจากนี้ยังมี "พิมพ์คะแนน" ที่มีขนาดเล็กลงมา ทำขึ้นสำหรับคั่น เวลานับจำนวนพิมพ์ใหญ่ได้ครบทุก ๑๐๐ องค์ พระผงรุ่นนี้มีประสบการณ์มากมาย แม้กระทั่งตำรวจพลร่มโดดร่มลงมาแต่ร่มไม่กาง แต่กลับรอดตายราวปาฏิหาริย์ โดยในคอแขวนพระผงญาณวิลาศของหลวงพ่อแดงนั้นเอง
 ๒. พิมพ์สามเหลี่ยมหรือพิมพ์นางพญา  ๓. พิมพ์พระปิดตา โดยทั้ง ๓ แบบมีเนื้อ ๔ สีคือ ขาวอมเหลือง แดง เทา และดำ และนอกจากเนื้อผงแล้วก็มีเนื้อชินอีกด้วย

มวลสาร (บางส่วน) ที่นำมาผสมในองค์พระมีดังนี้


วัตถุมงคลของท่านยังมีอีกหลายรุ่น เช่น ยุวพุทธิกสมาคม ชลบุรี สร้างรุ่นพิเศษ "ไตรภาคี" เนื้อผงสีแดง พิมพ์พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธชินราช นำมาให้ท่านปลุกเสก , รุ่นวัดเทพธิดา (หลังโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ) สร้าง, เหรียญที่มีรูปท่านเต็มองค์นั่งคุกเข่าอยู่ด้านหน้าเหรียญ เรียกว่า "เหรียญคุกเข่า" ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗

รายการพระที่มีอยู่ในร้านค้าจำนวน 12 คลิ๊กดูรายการ รายการ

รุ่นที่สร้าง ตัวอย่าง และราคาโดยประมาณ

ลำดับรูปภาพชื่อรุ่นความนิยมราคาโดยประมาณราคารับเช่าวันที่

โดย พระแท้.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา

Copyright Pratae.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย พระแท้ ดอทคอม.
Design by IT Citizens Co., Ltd.